รีวิวอื่นๆ

17 ท่านวดแบบง่ายๆ ช่วยลูกรัก ผ่อนคลาย-สุขภาพดี-พัฒนาการเยี่ยม

โดย: Phairin Putaladkham
20 มีนาคม 2560 เวลา 12:19 ผู้เข้าชม: 7,929
0
0
0

การนวด” คือการผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น…แต่คุณแม่รู้ไหมคะว่าลูกตัวน้อยๆ ของเราก็อยากให้นวดเหมือนกันนะ เพราะการนวดจะช่วยกระตุ้นระบบประสาทในสมอง กระตุ้นพัฒนาการ และทำให้ลูกอารมณ์ดี นอกจากนี้ การนวดเป็นการส่งผ่านความรักจากแม่สู่ลูกได้ดีอีกด้วย

แต่จะมีใครสักกี่คนที่ทราบว่า การนวดนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อแล้ว ยังช่วยกระตุ้นระบบประสาทในสมองที่ควบคุมการดูดซึมอาหาร ส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักเพิ่มตามพัฒนาการ ช่วยลดฮอร์โมนที่สร้างความตึงเครียดให้กับทารกได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

การนวดเด็กก็เหมือนในผู้ใหญ่ ทำให้ผ่อนคลาย เด็กสุขภาพดี ส่งผลให้พัฒนาการหลายๆ ด้านดีตามไปด้วย ส่งเสริมพัฒนาการการมองเห็นในหนูน้อย น้อยกว่า 3 เดือน ช่วงนวดคุณแม่มีโอกาสที่จะยื่นหน้าเข้าหนลูกน้อยอยู่บ่อยๆ ทำให้เขาเรียนรู้อวัยวะต่างๆ บนใบหน้าของคุณแม่  คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้เลี้ยง ต้องเลือกเวลาที่เหมาะสมในการนวดคือ เวลาที่ลูกไม่โยเย ก่อนมื้อนม หรือหลังอาบน้ำ และผู้นวดต้องไม่เครียดด้วยนะคะ การนวดถึงได้ดำเนินไปด้วยดี และสำหรับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หลับยาก หรือร้องกวน การนวดจะช่วยให้เด็กมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังช่วยให้เด็กหลับได้ง่ายขึ้น


ซึ่งท่านวดสัมผัสที่พ่อแม่ทำได้ง่ายที่บ้านกับลูกนั้น มีด้วยกัน 17 ท่า สามารถอธิบายประโยชน์ และลักษณะของท่าต่างๆ ได้…ดังต่อไปนี้


*** ท่านวดบริเวณศีรษะ และหน้า

เป็นท่าที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า แบ่งออกเป็น 2 ท่าคือ ท่าที่คาดผม และท่ายิ้มแฉ่ง

  • ท่าที่ 1 ท่าที่คาดผม ขั้นตอนง่ายๆ คือ จัดท่าให้เด็กนอนหงาย วางฝ่ามือทั้งสองบนศีรษะ ใช้นิ้วประสานกันเล็กน้อยตรงแนวกึ่งกลางของศีรษะจากนั้นลูบลงไปจนถึงปลายคาง
  • ท่าที่ 2 ท่ายิ้มแฉ่ง ช่วยกระตุ้นการกิน การดูดกลืนของทารก และยังช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในช่วงที่ฟันกำลังเริ่มขึ้น
    • ใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างวางตรงกลางเหนือริมฝีปากบน แล้วลากออกมาเป็นเส้นตรงจนสุดขอบปาก ทำ 5 ครั้ง ต่อจากนั้นนวดบริเวณริมฝีปากล่างในลักษณะเดียวกันอีก 5 ครั้ง
    • ใช้ปลายนิ้วกลางลูบไล้ขอบปาก วนเป็นวงกลมอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากมุมปากข้างหนึ่งผ่านเหนือริมฝีปากบนไปยังมุมปากอีกข้างหนึ่ง และวนต่อไปยังใต้ริมฝีปากล่าง จนถึงมุมตำแหน่งที่เริ่มต้นแล้ววนกลับ นับเป็น 1 ครั้ง


*** ท่านวดบริเวณหน้าอก

ช่วยเสริมจังหวะการทำงานของปอดและหัวใจให้ดีขึ้น ช่วยให้เด็กหายใจได้อย่างปลอดโปร่ง ซึ่งมีท่าหลักคือ ท่าเปิดหนังสือ

  • ท่าที่ 3 ท่าเปิดหนังสือ
    • ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างลูบไล้จากบริเวณกลางอก แยกมือออกจากกันไปทางด้านข้างของลำตัวตาแนวซี่โครง โค้งลงมาชนกันที่กลางท้องน้อย โดยให้ตำแหน่งการเคลื่อนไหวตั้งแต่ต้นจนจบเหมือนการวาดรูปหัวใจ


*** ท่านวดบริเวณแขนและมือ

ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดต่างๆบริเวณกล้ามเนื้อแขนและมือ และกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตจากปลายแขนกลับสู่หัวใจ มีท่าหลักคือ ท่าจอดป้ายรถเมล์

  • ท่าที่ 4 ท่าจอดป้ายรถเมล์
    • จับข้อมือลูกยกขึ้นเหนือศีรษะ นวดบริเวณใต้รักแร้ ซึ่งเป็นบริเวณของต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้
    • นวดแขนทีละข้าง โดยจับแขนลูกยกขึ้นแล้วใช้มืออีกข้างาจับรอบแขน นวดคลึงเป็นห่วงวงกลมจากต้นแขนค่อยๆ เลื่อนไปสู่ข้อมือ แล้วเลื่อนลงไปต้นแขน ขึ้น-ลง ต่อจากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือกดฝ่ามือลูกเบาๆ (ทำเหมือนกันทั้งสองข้าง)

*** ท่านวดท้อง

เป็นท่านวดกระตุ้นระบบทางเดินอาหาร เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินอาหาร แบ่งออกเป็น 5 ท่า คือ ซึ่งท่าที่ 5- 7 เรียกว่าท่า I LOVE YOU ขณะที่ท่าที่ 8 และ 9 เรียกว่า ท่าปูไต่พุง และท่าระหัดวิดน้ำตามลำดับ

  • เริ่มจากท่าที่ 5 ท่า I ใช้ฝ่ามือลูบเป็นเส้นตรงจากใต้ราวนมด้านซ้ายถึงบริเวณท้องน้อยเป็นตัว I (ด้านขวาของผู้นวด)
  • ท่าที่ 6 ท่า LOVE ใช้ฝ่ามือลูบเป็นตัว L กลับหัวบริเวณท้อง โดยเริ่มลากมือจากซ้ายไปขวาตามแนวนอนถึงใต้ชายโครงซ้าย แล้วลากลงตรงๆถึงบริเวณท้องน้อย
  • ท่าที่ 7 ท่า YOU ใช้ฝ่ามือลูบบริเวณท้องเป็นรูปตัวยูคว่ำ โดยเริ่มจากขวาของเด็กไปซ้าย
  • ท่าที่ 8 ท่าปูไต่พุง ใช้นิ้วมือข้างขวาเดินไต่บริเวณท้องน้อย โดยเริ่มจากขวาของเด็กเหมือนกับการเล่นปูไต่
  • และท่าที่ 9 ท่าระหัดวิดน้ำ
    • วางฝ่ามือทั้ง 2 ข้างตั้งฉาก โดยเริ่มจากใต้คาวนมเคลื่อนมือจากด้านล่างถีงบริเวรท้องน้อยที่ละข้าง ทำเป็นจังหวะ เมื่อมือข้างหนึ่งเคลื่อนลงจนสุด ก็เริ่มอีกข้างหนึ่งเคลื่อนลงล่าง ทำสลับกัน (ทำ 5 ครั้ง) ต่อจากนั้นใช้มือข้างซ้ายจับ ข้อเท้าทั้งสองข้างรวบเข้าด้วยกัน ช่วยผ่อนคลายกระเพาะ โดยใช้มือขวาลูบจากชายโครงลงมาเหนือหัวเหน่า (ทำ 3 ครั้ง)


*** ท่านวดขาและเท้า

การนวดขา และเท้า ลักษณะของท่าจะคล้ายกับท่านวดแขนและมือ โดยในส่วนเท้า และข้อเท้าของเด็กมีความสำคัญ เพราะเป็นส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนักตัว เมื่อเด็กหัดยืน และเดินการนวดเท้าจะเป็นการเตรียมพร้อมให้เด็กในการหัดยืน และเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อขาและเท้า แบ่งออกเป็น 3 ท่าหลักคือ ท่านวดขาให้หายเมื่อย ท่าคลึงฝ่าเท้า และท่าเดินหน้าถอยหลัง

  • ท่าที่ 10 ท่านวดขาให้หายเมื่อย
    • นวดขาลูกทีละข้าง โดยจับขายกขึ้นใช้มืออีกข้างหนึ่งจับรอบขานวดคลึงเป็นวงกลม เริ่มจากต้นขาค่อยๆเลื่อนไปสู่ปลายเท้า แล้วเคลื่อนลงโดยทำขึ้น-ลงสลับกัน (ทำ 5 ครั้ง) ต่อจากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้คลึงรอบข้อเท้าเด็ก อย่างแผ่วเบา นุ่มนวล ให้รอบข้อเท้า คลึงรอบตาตุ่มและบริเวณเอ็นร้อยหวาย

ท่านวดฝ่าเท้าน้อยๆ

  • ท่าที่ 11 ท่าลูกกลิ้ง ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างกลิ้งขาลูกไปมา โดยเริ่มจากหัวเข่าไปยังข้อเท้า แล้วกลิ้งลง (ทำ 5 ครั้ง) เสร็จแล้วทำอีกข้างเช่นเดียวกัน
  • ท่าที่ 12 ท่าคลึงฝ่าเท้า ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดฝ่าเท้าเด็กจากส้นเท้าขึ้นมาที่นิ้วเท้าเด็กทุกนิ้ว ทีละนิ้ว จากนั้นลูบบนฝ่าเท้าเด็กเข้าหาตัวคนนวด

*** ท่านวดหลัง

เป็นอีกท่วงท่าที่เด็กโปรดปราน เพราะเป็นการนวดที่ผ่อนคลาย แบ่งออกเป็น 2 ท่าหลักคือ ท่าเดินหน้าถอยหลัง และท่าขนนก

  • ท่าที่ 13 ท่าเดินหน้าถอยหลัง
    • พ่อแม่จับเด็กนอนคว่ำ ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างลูบตามขวางไปตามแผ่นหลังของเด็ก โดยทำสลับมือซ้าย-ขวา พร้อมๆ กัน มือขวาลูบเข้ามือซ้ายลูบออก โดยลูบจากช่วงบนลงไปสิ้นสุดบริเวณก้นกบ เคลื่อนขึ้น-ลงสลับกัน
  • ท่าที่ 14 ท่าขนนก
    • ลูบตามแนวกระดูกสันหลัง ใช้ฝ่ามือเริ่มลูบจากบริเวณท้ายทอยลงมาที่สะโพกแล้วเริ่มใหม่อีกที่บริเวณท้ายทอย


*** ท่าบริหารร่างกาย

ท่าบริหารร่างหายเป็นท่าที่ต้องทำด้วยความอ่อนโยน เพื่อยืดแขน ขา ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และช่วยให้ข้อต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งออกเป็น 3 ท่า คือ ท่าไขว้แขน ท่าไขว้ขา และท่าไขว้ทแยงแขน-ขา

  • ท่าที่ 15 ท่าไขว้แขน
    • จับเด็กนอนหงายใช้มือทั้งสองข้าง จับข้อมือทั้งสองของเด็กเอามาไขว้กันที่บริเวณหน้าอก นับ 1-2-3 แล้วกางออก โดยยืดแขนของเด็กออกไปจนสุด นับเป็น 1 ครั้ง (ทำ 5 ครั้ง )
  • ท่าที่ 16 ท่าไขว้ขา
    • จับข้อขาทั้งสองข้างของเด็กดึงมาไขว้กันที่บริเวณท้อง (คล้ายนั่งขัดสมาธิ) นับ 1-2-3 แล้วกางขาออกเหยียดตรง แล้วไขว้ขาทั้งสองข้างเข้าหากันอีกครั้ง
  • ท่าที่ 17 ท่าไขว้ทแยงแขน-ขา
    • จับข้อมือ และข้อเท้าของเด็กที่อยู่ตรงข้ามกัน ไขว้มาเฉียงกันที่หน้าอก ทำสลับข้างกัน นับเป็น 1 ครั้ง



Tips

  • ก่อนการนวดนั้น คุณพ่อคุณแม่ ต้องเข้าใจหลักเตรียมการนวดเสียก่อน เริ่มจาก ควรนวดในช่วงที่ลูกอารมณ์ดี ไม่หิว เช่น ภายหลังอาบน้ำ หรือหลังรับประทานนมแล้วอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อให้นมที่ได้รับเริ่มย่อย ป้องกันการอาเจียน
  • แต่ท่านวดบางท่าสามารถทำได้ทุกเวลา เช่น ท่าลูบแขนขา ลูบไล้ศีรษะ นอกจากนี้อุณหภูมิของห้องต้องพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป เพราะเวลานวดต้องถอดเสื้อผ้าลูกออกทั้งหมด
  • ก่อนนวดล้างมือให้สะอาดและทาแป้งเด็ก ถ้ามือผู้นวดแห้งควรทา Baby Lotion หรือ Baby Oil เพื่อช่วยให้การสัมผัสผิวลูกให้ลื่นไม่ระคายเคือง และควรให้ลูกนอนบนเบาะนุ่มๆ เพื่อให้ลูกได้นอนอย่างสบายขณะนวด และควรเตรียมผ้าอ้อมไว้เปลี่ยนด้วย
  • ทั้งนี้ แต่ละท่าในการนวดให้ลูกน้อยนั้น ควรทำ 5-10 ครั้ง โดยใช้เวลาในการนวดประมาณ 15-30 นาที ระหว่างนวดตัวลูก คุณแม่อาจเปิดเพลงเบาๆ ไปด้วย เพื่อให้ลูกผ่อนคลาย
  • ที่สำคัญ การนวดในแต่ละครั้ง คือการถ่ายทอดความรักผ่านทุกสัมผัส พ่อแม่ควรสบตากับลูก พร้อมกับพูดคุยด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน เพื่อให้สายสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกก่อตัวขึ้นที่ละน้อย

คลิปแสดงการนวดสัมผัสทารก

ผู้สนับสนุน

สำหรับบ้านไหนที่มีลูกน้อยร้องไห้โย เย บ่อยๆ และหลับยาก หรือมีอาการท้องอืด ท้องผูกบ่อยๆ คุณแม่ลองนวดให้วันละครั้ง หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้งดูนะคะ รับรองลูกน้อยคุณแม่ต้องเปลี่ยนไปแน่นอนค่ะ จากเด็กโยเยก็จะกลับมาอารมณ์ดี ขับถ่ายสะดวกท้องไม่อืด เด็กสุขภาพดี พัฒนาการก็จะดีตามไปด้วย


แหล่งที่มา : https://www.amarinbabyandkids.com/parenting/baby/17-baby-massage/

แชร์บอกให้เพื่อนคุณรู้

คอมเม้น

0 คอมเม้น
Other Review by Phairin Putaladkham

กฎการรีวิว

People who love what they do help
you get everything done at an
unbeatable value.

รีวิวโดยทีมงาน RP

What do you do best? Create your
Gig and start selling. It’s free, and
only takes 5 minutes.

ร่วมกิจกรรม

Your safety is our top priority. Secure
transactions and our safety team
protect you at all times.
เข้าสู่
ระบบ
เขียน
รีวิว
รีวิว
อัพเดท
Top 10
รีวิว
TOP
ติดต่อทีมงานเพื่อ
แนะนำรีวิวน่าสนใจ