1. ผลไม้จำพวกส้ม
ส่วนประกอบบางอย่างของผลไม้สกุลส้ม อาจส่งผลเสียหรือคุกคามต่อระบบทางเดินอาหารได้ จนอาจส่งผลให้เกิดผื่นผ้าอ้อมในทารกบางคน ถ้าไม่อยากเสี่ยงกับการเป็นผื่นผ้าอ้อมในทารก แต่คุณแม่ยังอยากได้รับวิตามินซี ขอแนะนำให้ทานผลไม้ชนิดอื่นแทน เช่น มะละกอ และ มะม่วง
2. บร็อคโคลี่และกะหล่ำปลี
บร็อคโคลี่และกะหล่ำปลีนั้นแน่นอนว่าเป็นผักที่ส่งผลดีต่อสุขภาพและมีประโยชน์มากมายหลายประการ แต่ผักสองชนิดนี้ทำให้เกิดภาวะแก๊สในท้องหรือในกระเพาะของทารกได้ ถ้าหากคุณทานบร็อคโคลี่หรือกะหล่ำปลีแล้วทำให้ลูกน้อยมีแก๊สในกะเพราะหรือปวดท้อง ลองห่างจากผักจำพวกนี้สักสองสามวัน แล้วดูว่าพอคุณเลิกทานลูกจะเลิกอาการท้องอืดหรือเปล่า แต่แทนที่จะเลิกทานบร็อคโคลี่และกะหล่ำปลีไปเลย ขอแนะนำให้ค่อยๆ กลับมาทานทีละนิดและเลือกทานแต่แบบที่ต้มสุกแล้วเท่านั้นดีกว่า
3. กระเทียม
การทานกระเทียมทำให้กลิ่นของนมแม่เปลี่ยนไปได้ หากคุณทานกระเทียมไม่เกิน 2 ชั่วโมงก่อนให้นมลูก กลิ่นของมันอาจจะยังอยู่ในน้ำนม ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่กลิ่นพึงประสงค์สำหรับเจ้าตัวน้อยแน่ๆ ทารกหลายคนอาจหนีเต้าไปเลยเมื่อได้กลิ่นกระเทียม
4. ถั่วลิสง
คุณหรือคนอื่นในครอบครัวคุณมีอาการแพ้อาหารบางประเภทไหม? ถ้าใช่ ขอให้ระวังให้ดีก่อนทานถั่วลิสงขณะให้นมลูก องค์กร La Leche League International (LLLI) ให้คำแนะนำคุณแม่ว่า หากในครอบครัว เครือญาติของคุณแม่มีคนที่แพ้อาหาร ก็ควรเลี่ยงทานถั่วลิสง เพราะอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้
5. ข้าวสาลี
หากคุณทานแซนด์วิช หรือ พาสต้าที่ทำจากข้าวสาลีขณะให้นมลูก แล้วสังเกตเห็นว่าลูกมีอาการแปลกๆ อย่างเช่น ร้องไห้ไม่หยุด อุจจาระปนเลือด คุณควรหยุดทานอาหารที่ทำจากข้าวสาลีทันที เพราะอาการต่างๆ ดังกล่าว อาจเป็นอาการแพ้ข้าวสาลีได้
6. ผลิตภัณฑ์จากนมวัว
ขณะที่ให้นมลูก คุณเองควรเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมวัวทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นโยเกิร์ต นมกล่อง ไอศครีม หรือ ชีส เพราะการดื่มนมวัวหรือการทานผลิตภัณฑ์จากนมวัว เพราะสารที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้สามารถแทรกซึมเข้าไปในน้ำนมของคุณ ส่งผลให้ลูกแพ้นมของคุณตามไปด้วยได้ อาการของการแพ้นมวัวในเด็ก อาทิเช่น การอาเจียน นอนไม่หลับ ผื่นแดง เป็นต้น
7. ข้าวโพด
อาการแพ้ข้าวโพดเป็นอีกหนึ่งอาการแพ้ที่พบบ่อยในทารกและเด็กเล็ก เพราะฉะนั้น กันไว้ดีกว่าแก้ พยายามเลี่ยงการทานข้าวโพดหรืออาหารที่ทำมาจากแป้งข้าวโพดจะดีที่สุด ถ้าลูกคุณมีอาการแพ้หรืออาการต่างๆ เมื่อคุณทานข้าวโพดเป็นส่วนผสม แนะนำให้เลิกทานข้าวโพดหรืออาหารที่ทำมาจากข้าวโพดไปเลย
8. ปลา
ปลาอาจจะไม่ได้ทำให้ลูกน้อยของคุณเกิดอาการท้องอืดหรือมีแก๊สในกระเพาะ แต่สารปรอทในปลาอาจแทรกซึมเข้าไปในน้ำนมได้หากคุณทานปลาขณะให้นมลูก ทั้งนี้ องค์กร FDA (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ได้ให้คำแนะนำว่า คุณแม่ที่ให้นมลูกยังควรทานปลาอย่างน้อย 12 ออนซ์ต่ออาทิตย์ (ประมาณ 2 มื้อต่ออาทิตย์) แต่ควรเลือกทานปลาหรืออาหารทะเลชนิดอื่นๆ ที่มีสารปรอทเจือปนน้อย เช่น กุ้ง แซลม่อน ปลาดุก ส่วนปลาที่มีสารปรอทเจือปนเยอะและควรเลี่ยงนั้น ได้แก่ ฉลาม ทูนากระป๋อง กระโทง ปลาอินทรีย์ เป็นต้น
9. ช็อคโกแล็ต
แม้จะเป็นของหวานที่หลายคนโปรดปราน แต่อย่าลืมว่าช็อคโกแล็ตนั้นมีคาเฟอีน แม้จะมีไม่มาก เช่น ช็อคโกแล็ตดำมีคาเฟอีน 3-35 มิลลิกรัมต่ออนซ์ แต่คาเฟอีนก็ยังเป็นอันตรายสำหรับทารกหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารกอยู่ดี
10. ผักชี
แม้จะมีประโยชน์ แต่สิ่งที่คุณแม่ที่กำลังให้นมลูกทุกท่านควรทราบไว้ คือ ผักชี นั้นเป็นเครื่องเทศที่ทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้หากทานในปริมาณสูง ถ้าหากทานนิดๆ หน่อย หรือทานแค่ผักชีที่ตกแต่งบนจานก็ไม่เป็นไรค่ะ แต่หากทานบ่อยๆ และทานเยอะๆก็ควรลดลงบ้างขณะให้นมลูก
ถึงแม้ว่าหนึ่งในอาหารเหล่านี้จะเป็นเมนูโปรดของคุณแม่ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงไว้ก่อน เพราะการให้ลูกได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ผ่านน้ำนม จะส่งผลดีต่อสุขภาพและการพัฒนาสมองของลูกเป็นอย่างมาก อดใจไว้ซักนิดในระยะให้นมนะคะ
แชร์บอกให้เพื่อนคุณรู้